วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี cloud computing
Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing
รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย

ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

นิยามที่หลากหลาย


วิดีโอชื่อ “What is Cloud Computing” จากงาน Web 2.0 Expo

เนื่องจากมีความหลากหลายในเรื่องวิธีและ แนวทางในการพัฒนาระบบCloud Computing ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้ผู้คนนิยามคำว่าCloud Computingแตกต่างกันไปตามแต่เทคโนโลยีหรือวิธีการที่ใช้พัฒนาหรือแม้แต่มุม มองของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น จากblogของคุณsoowoiได้ทำการค้นคว้านิยามภาษาไทยของคำว่าCloud Computing(ที่แปลโดยทีมblognone) ไว้ดังนี้

  1. บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
  2. ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน

หมายเหตุ อ่านรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลได้ที่ http://lib.blognone.com/Cloud_Computing

ผมวิเคราะห์ได้ว่านิยามแรกของ Gartner นั้นอิงตามวิธีการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) โดยเน้นไปที่คุณสมบัติที่เรียกว่าความสามารถในการขยายตัวได้ของระบบ (Scalability) ส่วนนิยามจากฟอเรสเตอร์ (Forrester)ก็ คล้ายๆกับของGartnerที่กล่าวถึงความสามารถในการขยายตัวได้ และยังเสริมอีกว่ารองรับโปรแกรมประยุกต์และเก็บค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay per use หรือ Post paid นั่นเอง) สำหรับประโยคหลังนี้ที่แตกต่างไปจากของGartner โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่าอะไรคือ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

  • Grid Computing คือวิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร(อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องหรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบuser accountในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง
  • Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง
  • SaaS ย่อมาจาก Software as a Service เป็นรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์หรือapplicationบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของ ลูกค้า โดย SaaS เป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ On-premise software อันเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้า

จากที่blognoneแปล ไว้ ทำให้เราได้คำศัพท์สำหรับเรียก Cloud Computing แบบไทยคือ “ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” ถือว่าบัญญัติชื่อเรียกภาษาไทยได้ลงตัวดีครับ ทำให้มโนภาพเห็นเมฆลอยบนท้องฟ้า และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยากได้อะไร เราก็เงยหน้ามองฟ้าวาดเมฆให้ได้ดั่งใจเราต้องการ
มาดูนิยามจากทางเจ้าพ่อสารานุกรมออนไลน์Wikipediaบ้าง เขาได้ให้นิยามไว้ว่า

Cloud computing refers to computing resources being accessed which are typically owned and operated by a third-party provider on a consolidated basis in Data Center locations. Consumers of cloud computing services purchase computing capacity on-demand and are not generally concerned with the underlying technologies used to achieve the increase in server capability. There are however increasing options for developers that allow for platform services in the cloud where developers do care about the underlying technology.  – โปรดดูต้นฉบับของ Wikipedia ประกอบ
แปลได้ว่า: Cloud Computing หมายถึงทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่จัดเตรียมและจัดการโดยบุคคลหรือองค์กร ที่สาม (Third Party) โดยทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่Data Center จากนั้น ผู้ใช้ของCloud Computing สามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ(หรือเช่า)ได้ตามที่ต้องการ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องคำนึง(หรือแม้แต่กังวล)เลยว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากรจะ บริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไร (หรือว่าได้หรือไม่ เพราะยังไงก็ต้องทำให้ได้ :) )
แต่ประโยคสุดท้ายเขาได้กล่าวว่า การที่ Cloud Computing จัดเตรียมความสามารถที่ระบบสามารถขยายตัวได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (increasing option) ก็เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้พัฒนาระบบจำเป็นจะต้องเป็นห่วงเป็นกังวลแทน นั่นหมายความว่า ถ้าหากผู้ใช้ต้องการทรัพยากรมากกว่าที่ผู้ให้บริการจะเตรียมให้ได้ ผู้ให้บริการจะต้องค้นหาวิธีใดๆก็ตามเพื่อสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมาแบบ ฉับพลันนี้ให้ได้ อย่างเช่น ผู้ให้บริการอาจจะต้องกลายเป็นผู้ใช้หรือลูกค้าของผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ เป็นทอดๆ เป็นต้น

เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบ กรุณาอ่านบทความ “มุมมองในเรื่องCloud Computingของผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อดูนิยามและความเข้าใจในเรื่องCloud Computingของบุคคลท่านอื่น

ทำไมต้องเป็นCloud

สาเหตุที่มีชื่อว่า Cloud Computing ก็มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆ(Cloud)ที่เราใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลองดูตัวอย่างได้จากโปรแกรมMicrosoft Visio อย่างเวลาเราจะวาดแผนผังเครือข่าย สัญลักษณ์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คือรูปเมฆ
ในเมื่อรูปเมฆแทนอินเตอร์เน็ต แล้วทำไมอินเตอร์เน็ตจึงไปเกี่ยวกับCloud Computingได้? คำตอบมาจากการที่เราต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เราก็สามารถได้บริการหรือได้ใช้ทรัพยากรที่อยู่ระยะไกลเพื่อสนองต่อความต้อง การของเราได้นั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่เขามองว่า Cloud Computing คือเมฆที่ปกคลุมทรัพยากรและบริการอยู่มากมาย เทียบได้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ต่อกับบริการและทรัพยากรจำนวนมหาศาล เมื่อเป็นCloud Computing เราจะมองว่าอินเตอร์เน็ตคือเมฆ และเมื่อไหร่ที่เราต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเมฆแล้ว เราก็สามารถเข้าถึงและใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ต่อกับเมฆ…เทียบ ได้กับเมฆปกคลุมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และผู้ใช้จำนวนมหาศาลไว้อยู่ ทั้งนี้ผู้ใช้มองเห็นเมฆผ่านทางบริการที่จะนำพาผู้ใช้เข้าถึงพลังในการ ประมวลผลและทรัพยากรต่างๆที่อยู่ใต้เมฆ หรือภายใต้ท้องฟ้าเดียวกันคือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวว่าเนื่องด้วย Web 2.0 อันเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตที่รุ่งเรืองในเรื่องของสมาคมออนโลน์หรือสังคมดิจิตอล เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนมากเข้าถึงบริการ World Wide Web (WWW) เพื่อขอใช้บริการที่มีความหลากหลาย และการใช้บริการเริ่มจะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค email,และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่านGroup และ Web board รวมไปถึงBlogส่วนตัว และ Community อย่าง Hi5 หรือ Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่านFlickr แชร์วิดีโอผ่านYoutube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งานapplicationต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆไว้ให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Doc ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google Apps ที่รวมapplicationต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ search engine, gmail, picasa, google video, google doc, google calendaryoutube, google maps, google reader และ blogger เป็นต้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและapplicationต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือน เป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้ เกิด Cloud computing ขึ้นมาในที่สุด และตัวอย่างของความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริง แล้ว ในกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่าง พนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการได้มากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบdlna

 DLNA คืออะไร ?

http://146.215.126.38/support/attachments/374979/dlna_logo.jpg
อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก Digital Living Network Alliance หรือ DLNA จะอนุญาตให้ท่านทำการแบ่งปันคอนเทนท์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบๆ บ้านของท่านผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi® ของท่านในบ้าน. ตัวอย่างเช่น, ท่านสามารถที่จะเซ็ตอัพเครื่องคอมพิวเตอร์ VAIO® ของท่านเป็น DLNA server และเปิด เพลง, วิดีโอ และรูปถ่ายต่าง ๆ ที่บนเครื่องทีวีของท่าน . Sony® ได้ผลิตอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ออกมามากมายเช่น เครื่องเล่น Blu-ray™ Disc , เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของ Sony , เครื่องแทปเล็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย.
หมายเหตุ: ไม่ได้มีอุปกรณ์ของโซนี่ครบทั้งหมดที่จะใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA. ให้ตรวจเช็คดูรายละเอียดจำเพาะต่าง ๆ หรือคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ของท่านสำหรับรายละเอียดการใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA นี้.

ทำงานได้อย่างไร ?

อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA สามารถที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านได้เหมือนกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. เมื่อทำการเชื่อมต่อได้แล้ว, ท่านสามารถจะเลือกดูโฟล์เดอร์ที่เลือกไว้ในเครื่องพีซีที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ของมีเดียของท่าน จากบนหน้าจอทีวีได้เลย และเลือกเพลงเพื่อเปิดฟัง หรือดูรูปถ่าย และวิดีโอต่างๆ เพื่อเปิดดูได้.
แอพพลิเคชั่นสำหรับแบ่งปันไฟล์เช่น Windows Media® Player, ซอฟต์แวร์ VAIO® Media server , Serviio™ DLNA Media server, Twonky® suite หรือ EyeConnect UPnP™ AV Media Streaming Software จะทำการเชื่อมต่อให้ระหว่าง ทีวี และเครื่องคอมพิวเตอร์.
ไฟล์เพลงต่าง ๆ จะมีการแสดงตาม ชื่อเพลง ชื่อศิลปิน วันที่ออก และรูปศิลป์ของหน้าปก, ในขณะที่รูปถ่ายจะแสดงเป็นรูปตัวอย่างขนาดเล็ก(thumbnails)เพื่อที่จะช่วยให้การเลือกทำได้อย่างรวดเร็ว. ส่วนวิดีโอต่าง ๆ จะทำการแสดงตามชื่อไฟล์ . ท่านเพียงทำการเลื่อนไปยังไฟล์เพลง วิดีโอ หรือรูปถ่ายที่ต้องการ แล้วทำการคลิกเพื่อรับฟังหรือรับชมได้เลย .

ต้องมีอะไรบ้างถึงจะดูรูปถ่าย วิดีโอ หรือฟังเพลง บนอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน DLNA ได้ ?

ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องการเพื่อที่จะดูรูปถ่าย วิดีโอ หรือรับฟังเพลง ในอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน DLNA :
  • เครือข่ายที่แอ็คทีฟ: อุปกรณ์นั้นจะต้องเชื่อมต่อเข้าไปโดยใช้การเชื่อมต่อแบบสายหรือไร้สายเข้ากับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือเข้ากับระบบเครือข่าย LAN(Local Area Network)ในบ้านของท่าน.
  • เซิร์ฟเวอร์ของมีเดียดิจิตอลที่ได้รับการรับรองโดย DLNA (DLNA Certified Digital Media Server): อุปกรณ์เหล่านี้จะเก็บบันทึกคอนเทนท์และจัดให้กับเครื่องเล่นสื่อดิจิตอลระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์จัดเก็บที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย(NAS).
  • เครื่องเล่นสื่อดิจิตอล ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA หรือเครื่องไคลเอนท์: อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถหารูปถ่ายและวิดีโอจากอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ตัวอื่นและทำการเล่นบนเครื่องทีวี, ระบบสเตริโอ, ระบบโฮมเธียร์เตอร์, เครื่องเล่น Blu-ray Disc™ และคอนโซลเกมส์ต่าง ๆ ของท่านได้.
หมายเหตุ: ตัวควบคุมสื่อดิจิตอล (Digital Media Controller) สามารถที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ตัวเลือกที่ทำการหาคอนเทนท์ในเซิร์ฟเวอร์ของสื่อดิจิตอล และทำการเล่นในเครื่องเล่นสื่อดิจิตอลได้. ตัวอย่างบางอย่างของรายการเหล่านี้ได้แก่: แทปเล็ตอินเตอร์เน็ต, กล้องดิจิตอลที่เปิดใช้งาน Wi-Fi® ได้ และเครื่องดิจิตอลช่วยเหลือส่วนบุคคล(PDA). สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ DLNA และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถจะดูได้จากที่http://www.dlna.org.
รายละเอียดจำเพาะของผลิตภัณฑ์

 /support/attachments/374979/psi_comp4.jpg  http://146.215.126.38/support/attachments/374979/psi_comp2.jpg 
เครื่องรับโทรทัศน์

เครื่องรับโทรทัศน์สามารถที่จะทำการเซ็ตอัพให้เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ DLNA ได้. ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถพบกับประสบการณ์ในคอนเทนท์อย่างเช่น เพลง วิดีโอและรูปถ่ายต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi ในบ้านของท่านได้. ตรวจเช็คกับคู่มือการใช้งานสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ของท่านสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการเซ็ตอัพการเชื่อมต่อ DLNA.
เครื่องเล่น Blu-ray Disc และเครื่องเล่นมีเดียต่าง ๆ

เครื่องเล่น Blu-ray Disc และเครื่องเล่นมีเดียต่าง ๆ ของ Sony สามารถที่จะทำการเซ็ตอัพให้เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ DLNA ได้. ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถพบกับประสบการณ์ในคอนเทนท์อย่างเช่น เพลง วิดีโอและรูปถ่ายต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi ในบ้านของท่านได้.
ระบบเอวีในบ้าน(Home AV System) & ลำโพงเครือข่าย(Network Speakers)
ไม่ว่าจะมีบางเพลงที่ท่านต้องการจะรับฟังหรือภาพยนตร์ที่ชื่นชอบที่ท่านต้องการจะรับชม , ระบบ DLNA Certified® audio-video (AV) จะทำให้ท่านสามารถทำการสตรีมคอนเทนท์ดิจิตอลได้ , จากอุปกรณ์ใด ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA โดยการใช้เครือข่ายในบ้านของท่าน . ท่านสามารถทำการย้ายจากเครื่องพีซีของท่านไปยังระบบลำโพงเครือข่ายหรือจากเครื่องแทปเล็ตของท่านไปยังระบบโฮมเธียร์เตอร์ของท่าน ด้วยระบบ DLNA Certified® AV , เวลาใดก็เป็นเวลาเริ่มต้นของความบันเทิงได้.

Tablets 

แทปเล็ตของ Sony จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือในบ้านได้. โดยใช้เครื่องแทปเล็ตของท่านทำการเปิดวิดีโอหรือรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องพีซีที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ของท่าน . "โดยการโยน(Throw)" และรับชมบนทีวีที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ของท่านได้เลย.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ipv4 ipv6

IPv4 และ IPv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะ ติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

การเปรียบเทียบ IPv4 กับ IPv6


1 การเปรียบเทียบ  Header ของ  IPv6  และ  IPv4

เฮดเดอร์ (header)ของข้อมูลแบบ  IPv6 ถูกออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุด โดยHeaderจะประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ (field) ที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ที่เราเตอร์ (router) ทุกๆตัวเท่านั้น  ส่วนตำแหน่งที่อาจจะถูกประมวลผลเฉพาะที่ต้นทางหรือปลายทาง หรือที่เราท์เตอร์บางตัว จะถูกแยกออกมาไว้ที่ส่วนขยายของHeader (extended header)
รูปที่  2.2**การเปรียบเทียบ  Header  ระหว่างมาตราฐานของ IPv4 และ  IPv6


จากภาพ จะเห็นว่าHeaderของ IPv6 ถึงแม้ว่าจะมีความยาวกว่า IPv6 แต่จะดูเรียบง่ายกว่าHeaderของ IPv6 มาก ทั้งนี้หากพิจารณาHeaderของ  IPv4  เทียบกับของ IPv6 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้


ความสามารถพิเศษของIPv6 ที่เหนือกว่า IPv4
          Management: IPv6 สนับสนุนการติดตั้งและการปรับแต่งระบบแบบอัตโนมัติ เพื่ออำนวย
ความสะดวกให้กับการจัดสรร ปรับเปลี่ยน IP Address การเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการหลายราย และ
การจัดการเครือข่ายแบบ Plug-and-play
          Broadcast/Multicast/Anycast: IPv6 ถูกออกแบบมาให้รองรับ Multicast group
address และตัด Broadcast address ออก นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการสื่อสารแบบ
Anycast โดยอนุญาตให้อุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้นได้รับการจัดสรร IP Address เบอร์เดียวกัน
          Security: เร้าท์เตอร์และอุปกรณ์เครือข่าวทุกตัวในเครือข่าย IPv6 ถูกกำหนดให้รองรับการ
ใช้งาน IPSec นอกจากนี้ยังมีการกำหนด Security Payload สองประเภทคือ Authentication
Payload และ Encrypted Security Payload เพื่อสนับสนุนการรับส่งข้อมูลที่ปลอดภัย
          Mobile IP: IPv6 สนับสนุนการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เช่นเดียวกับ IPv4 แต่มี
ประสิทธิภาพมากกว่าตรงที่สามารถส่งข้อมูลผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์
ตัวกลางในการส่งข้อมูลต่อ และสามารถใช้ IPSec ในการป้องกันโจรกรรมแพ็คเก็ตกลางทาง
          Virtual Private Network (VPN): IPv6 ไม่พบปัญหาหากเครือข่ายต้นทางหรือ
ปลายทางมีการทำ Network Address Translation (NAT) และยังสามารถใช้ ExtendedHeader
          Quality of Service: IPv6 ถูกออกแบบมาให้สนับสนุนการรับประกันคุณภาพของบริการ
ตั้งแต่เริ่ม โดยจะเห็นได้จากตำแหน่ง Flow Label และ Traffic Class ในเฮดเดอร์
          Maximum Transfer Unit (MTU): ขั้นต่ำในเครือข่าย IPv4 คือ 576 ไบต์ และถูกเพิ่ม
เป็น 1280 ไบต์ในเครือข่าย IPv6 การเพิ่มความยาวขั้นต่ำของ MTU นี้จะช่วยในการส่งข้อมูลใน
เครือข่าย IPv6 มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยช่วยลดสัดส่วนของข้อมูลเฮดเดอร์ต่อข้อมูลทั้งหมด